ไตรภูมิพระร่วง
ผู้แต่ง
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท)
ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ทรงผนวชแล้ว และขึ้นครองราชย์ได้ ๖ ปี ประมาณ
พ.ศ. ๑๘๙๖
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท)
เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพญางัวนำถม
จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ พ.ศ. ๑๙๓๕ หลักที่ ๘ ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙
เมื่อพญาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. ๑๘๘๔ พญางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์
ต่อมาพญาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ ทรงพระนามว่า
พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า พญาลิไท
หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๑๑
พญา ลิไท
ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย
ได้สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก พญาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก
ทรงสนพระทัยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก
และทรงพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วง
ตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร)
บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง
และสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ที่ฝีมือการช่างงดงามเป็นเยี่ยม
งานพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท
ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถาศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและศิลาจากรึกวัดศรีชุม
เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
กล่าวถึงเหตุการณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
การผนวชที่วัดป่ามะม่วง เป็นต้น
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
มี ๒
ประการ
๑.
เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมกตัญญูประการหนึ่ง
๒.
เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพุทธศาสนา และช่วยกันดำรงพระพุทธศานา
ไว้ให้มั่นคง
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว ประเภทความเรียงสำนวนพรรณนา
อ้างอิง https://board.postjung.com/730910.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น